วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

เรื่องย่อมนุษย์สองหน้า อัลแบร์ กามู
และบทวิเคราะห์วิจารณ์ เรื่องย่อมนุษย์สองหน้า

“เรื่องราวของคนผู้ฉ้อฉลความเป็นมนุษย์” คือคำจำกัดความของ “มนุษย์สองหน้า” นวนิยายขนาดสั้นกระชากหน้ากากคนจอมปลอมในสังคม ทั้ง ๑๒๘ หน้ากระดาษอัดแน่นด้วยเนื้อหาการนำเสนอมุมมองแปลกใหม่ต่อความเป็นมนุษย์ โดย “อัลแบร์ กามู” (Albert Camus) นักเขียนนักคิดชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Prize) ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ อันเป็นยุคแห่งการฉ้อฉลทั้งภายในฝรั่งเศส และกลายเป็นโรคระบาดไปทั่วโลก ถ่ายทอดออกเป็นภาษาไทยครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๕๑๖ โดยจันทร์แจ่ม บุนนาค จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๕๔๓ “ตุลจันทร์” เป็นผู้ขัดเกลาปรับปรุงใหม่ และพิมพ์สำเร็จออกมาเป็นรูปเล่มอีกเป็นครั้งที่ ๗
ในวงการหนังสือเรื่องสั้นหรือนวนิยาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เขียนโดยนักเขียนไทย หรือเป็นหนังสือแปล ก็ยากนักที่จะขึ้นปกด้วยใบหน้าของผู้เขียนเอง และ อัลแบร์ กามู ก็เป็นหนึ่งในจำนวนอันน้อยนิดนั้น ซึ่งได้รับเกียรติตีพิมพ์ใบหน้าของเขาลงบนปกหนังสือของเขาเอง ทั้งนี้ก็เท่ากับเป็นการรับประกันถึงหน้าต่อๆ ไปที่จะพลิกไปอ่านว่าไม่ผิดหวังแน่นอน
อัลแบร์ กามู เป็นทั้งนักคิดและนักเขียน ที่เคยเข้าร่วมขบวนการใต้ดินเพื่อเคลื่อนไหวต่อต้านลัทธินาซีและฟาสซิสต์ แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เขาต้องออกมาจากขบวนการนั้น เผชิญกับความโดดเดี่ยว ผิดหวัง และดิ่งลงต่ำสุดของชีวิต อันเป็นแรงบันดาลใจให้จรดปากการ่าง “มนุษย์สองหน้า” นี้ขึ้นมา
กามู เป็นผู้มองสังคมในมุมที่แตกต่าง มองจากหลายมุมจนเห็นมุมที่ขัดแย้ง และนำเอามาถ่ายทอดลงเป็นตัวหนังสือ เกิดเป็นรูปเล่มมากมาย โดยเฉพาะเรื่อง “คนนอก” (Étranger) ซึ่งเป็นหนังสือที่ทำให้กามูได้รับรางวัลโนเบลอันทรงเกียรตินั้นเอง
นวนิยายของกามูแต่ละเล่มจะมีความพิเศษแตกต่างกันไป แต่ก็ยังยืนยันการนำเสนอมุมมองที่แตกต่าง สำหรับ “มนุษย์สองหน้า” นี้ นอกจากจะเด่นเรื่องการนำเสนอส่วนลึกของจิตสำนึกของมนุษย์แต่ละคนแล้ว กลวิธีการดำเนินเรื่องก็นับว่าแปลกมาก คือใช้ตัวละครเพียงตัวเดียวเป็นผู้เล่าเรื่อง และบรรยายๆ เหตุการณ์ต่างๆ จากบทสนทนา แม้ในเรื่องมีตัวละครมากกว่าหนึ่ง แต่ว่าเป็นบทสนทนาของตัวละครเอกตัวเดียวทั้งเรื่อง โดยไม่มีบทสนทนาของตัวละครอื่น หรือบทบรรยายของผู้เขียนแทรกอยู่เลย ซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่จะนำเสนอเรื่องราวที่ดำเนินไป ในลักษณะเช่นนี้ อันเป็นความสามารถอันโดดเด่นของกามูโดยแท้
“มนุษย์สองหน้า” นี้บอกเล่าเรื่องราวผ่าน ฌ็อง-บัปติสต์ กลาม็องซ์ อดีตทนายความ ผู้อ้างตนว่าเป็นผู้พิพากษา-ผู้สำนึกผิด อันเป็นตัวแทนจิตสำนึกของมนุษย์ปุถุชนทั่วไปในสังคมโลก ซึ่งมักจะชอบพิพากษาคนอื่นๆ ไปพร้อมๆ กับแสดงความสำนึกผิดไปพร้อมๆ กัน แต่เนื้อแท้มิได้สำนึกผิดในสิ่งที่คิดว่าเป็นความผิดเท่านั้น หากแต่หาข้อยืนยันความบริสุทธิ์ของตนเท่านั้น
ตัวละครเอกบอกเล่าเรื่องราวของตนตั้งแต่เป็นทนายความจนกระทั่งการกลายเป็นผู้พิพากษา-ผู้สำนึกนี้ พร้อมกับแทรกแนวคิดในเรื่องกฎเกณฑ์ของความเป็นมนุษย์ซึ่งไม่เกี่ยวกับพระเจ้าใดๆ โดยเชื่อว่าสิ่งใดๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิตคือความสามารถที่มนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นเอง และเลือกเอง โดยกลาม็องซ์พลิกตัวเองจากการเป็นทนายซึ่งมีหน้ามีตาในสังคมฝรั่งเศส กลายเป็นผู้พิพากษา-ผู้สำนึกผิด จากเหตุการณ์สำคัญซึ่งดูเหมือนจะไร้เหตุผลสำหรับคนทั่วไปอย่างเราๆ แล้วเขาก็ปฎิบัติหน้าที่ผู้พิพากษา-ผู้สำนึกผิด โดยการบอกเล่าเรื่องราว และสารภาพความเป็นตัวตนของเขาให้กับผู้คนเพื่อเป็นการสำนึกผิด และพิพากษาตัวของเขาเอง โดยอาจคาดหวังคำพิพากษาจากคนที่รับฟังว่า เขาก็ไม่ผิดอะไร
ตลอดทั้งเรื่องกามู สร้างตัวละครที่มีมุมมองแบบที่คนทั่วไปคาดไม่ถึง เป็นปรัชญาที่เข้าใจง่ายๆ หากแต่ลึกล้ำในการบอกเล่าถึงสิ่งลวงอันเกิดขึ้นจริงในสังคม อันอยู่บนพื้นฐานของธรรมชาติมนุษย์ในการแสวงหาข้อสนับสนุนว่าตนไม่ได้ผิดไปกว่าใคร ในส่วนนี้เองซึ่งเป็นจุดคาบเกี่ยวระหว่างความดีความเลว หรือด้านมืดด้านสว่างของมนุษย์ทุกคน
“มนุษย์สองหน้า” นี้คือตัวแทนสามัญชนทั่วไปซึ่งมักจะมีมากกว่าสองหน้าขึ้นไป เหมาะสำหรับผู้ต้องการรู้จักตัวเองและสังคมให้มากขึ้นไปในแง่มุมใหม่ๆ แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ยอมรับด้านมืดของตัวเองไม่ได้ เพราะโดยพื้นฐานจิตใจของมนุษย์ย่อมไม่ต้องการใครรู้เท่าทันตัวตนของตนเองมากเกินไป อันเป็นพรสวรรค์ของอัลแบร์ กามู แต่หากใครต้องการรับรู้ความเป็นไปของตนเองในแง่มุมใหม่ๆ จะไม่ผิดหวังเมื่อรู้จัก ฌ็อง-บัปติสต์ กลาม็องซ์ “ผู้พิพากษา-ผู้สำนึกผิด” คนนี้มากขึ้น


สรุปเนื้อเรื่องมนุษย์สองหน้า
กล่าวถึงบาร์แห่งหนึ่งในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เค้าให้ความสนใจคนๆหนึ่งชื่อนายกอริลลาเป็นเจ้าของบาร์แห่งนี้แต่ผิดสังเกตที่ว่าบาร์แห่งนี้ใช้เป็นที่ต้อนรับกะลาสีจากทุกมุมทั่วโลกแต่เค้ากับพูดได้เพียงภาษาเดียวคือภาษา ฮอลันดา นั่นเอง และอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เค้าทำหน้าขมึงทังเพราะทำตัวให้คนไม่ไว้วางใจทั้งสิ้น เพราะไม่รู้ว่าใครจะวางใจได้บ้าง และนอกจากนั้นยังมีคนหลายสัญชาติแวะมาในบาร์แห่งนี้บางคนแต่งตัวดูดีแต่ก็เป็นเพียงภายนอกเท่านั้น แต่ภายในจิตใจอาจจะไม่ได้ดูดีเหมือนการแต่งตัว แม้ใช้จะภาษาพูดที่สวยงาม ดูดี เค้ายังได้เปรียบเมืองปารีสว่าเป็นเมืองแห่งภาพลวงตาว่าเป็นแค่ฉากวิจิตรหรูหราเท่านั้น แต่มองลึกลงไปแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลย บางครั้งยุคประวัติศาสตร์อาจจะเป็นยุคที่ดีกว่ายุคสมันใหม่ของปารีสหรือยุโรปด้วยซ้ำไปแต่เหตุไหนคนในสมัยนี้จึงเรียกตัวเองว่าเป็นมนุษย์ยุคใหม่ ไม่ว่าหญิงหรือชายล้นเป็นชนชั้นกลางเข้ามาสู่สถานที่นี้เพราะความหลง ความโง่ กล่าวคือ บ้างก็เป็นผู้มีจินตนาการสูง บ้างแทบจะไม่มีอะไรเลย
และตัวเค้าได้มีอาชีพเป็นทนายความเค้าได้เปรียบอาชีพนี้ว่าเป็นเหมือนมนุษย์สองหน้าแต่ปัจจุบันเค้าได้เลิกและได้มาทำอาชีพเป็นผู้พิพากษา-ผู้รับผิดชอบ ตัวเค้าเองก็มีเรื่องราวที่เป็นสองด้านคือด้านที่ดีและอีกด้านหนึ่งคือด้านมืดของตัวเค้าเอง เปรียบได้ว่าเค้าเองก็เป็นมนุษย์สองหน้า คือเรื่องราวดีๆ ของเค้ามีอยู่ว่า สมัยก่อนได้มีอาชีพเป็นทนายความซึ่งเค้ามีความยุติธรรมรักในความซื่อสัตย์ และมีฐานะร่ำรวยและช่วยเหลือคนยากคนจนในการว่าความและประสบผลสำเร็จตลอด และไม่เคยคิดเอาค่าตอบแทนจากคนยากคนจนเลย ไม่ว่าจะเป็นคดีเด็กกำพร้า คดีแม่หม้าย เค้ารับทำหมดต่อสู้กับความยุติธรรมราวกับเป็นอัศวินปราบสัตว์ประหลาดที่น่ากลัวและเค้าเองเป็นคนที่ใฝ่สูง ชอบทำบุญ และเป็นคนที่ทะเยอทะยานเป็นชอบเป็นทาสรับใช้ใคร ชอบอยู่เหนือคนอื่นเป็นเจ้านายตัวเอง ในส่วนของเรื่องราวอีกด้านหนึ่งของเค้าคือเรื่องราวที่เป็นด้านมืดของเค้า แม้ว่าเค้าเป็นคนที่รักความยุติธรรมก็จริง แต่ในใจของเค้าเองกลับมีแต่ความเห็นแก่ตัวอยู่อย่างมาก เค้าสามารถทำทุกสื่งเพื่อแลกกับความพึงพอใจและสิ่งที่ตนเองรักด้วยไม่คำนึงถึงความเดือนร้อนของบุคคลอื่นเลย และเป็นข้อเสียของเค้าเองอีกด้วย และนี้คือเรื่องราวที่เป็นของคนในสมัยยุคนั้นที่เป็นชนชั้นยุดกลางย่อมมีส่วนดีและส่วนๆหนึ่งที่เป็นเหมือนนรก เป็นด้านมืดอยู่ด้วย เราจึงเปรียบมนุษย์ในยุคนั้นเป็นเสมือนคนสองหน้าหรือเป็นมนุษย์สองหน้านั่นเอง

บทวิจารณ์
เรื่อง มนุษย์สองหน้า คำสารภาพแห่งการเปลื้องเปลือยจิตวิญญาณ

ข้อดีข้อเสีย
-ข้อดี
1. เรื่องที่อ่านนี้ทำให้เราได้รู้ถึงความเห็นแก่ตัวของคนเราซึ่งมีอยู่ในตัวทุกคน ที่เป็นสัญชาตญาณ มาตั้งแต่เกิด
2. ทำให้รู้ว่าคนในสมัยก่อนมีการแบ่งชนชั้นวรรณะ ซึ่งทำให้เกิดการเลื่อมล้ำทางวัฒนธรรมและ สิทธิเสรีภาพของบุคคล
3.การที่คนเรานั้นมีนิสัยสองด้านคือด้านที่เป็นส่วนนอกและด้านที่เป็นส่วนภายในจิตใจมีทั้งในด้านดีและที่เป็นในด้านมืด
4. บ่งบอกถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน และบอกถึงลักษณะบุคลิกของตัวละครในเรื่องได้อย่างเหมาะสม
-ข้อเสีย
1. ในเรื่องราวนี้เป็นวัฒนธรรมที่เป็นของต่างชนชาติ ทำให้ผู้อ่านนั้นเข้าใจได้ยากและเกิดความสับสนในเรื่องราว
2. การบ่อบอกถึงลักษณะนิสัยและความเป็นชั้นชนในเรื่องนี้เป็นความมีเอกลักษณะเฉพาะ ทำให้ผู้อ่านนั้นเข้าใจยาก และอาจตีความผิดได้
3. การบ่งบอกถึงสัญชาติ ศาสนา วัฒนธรรมนั้นมีน้อยทำให้ผู้อ่านยังขาดในส่วนตรงนี้ถ้ามีเพิ่มเติมจะช่วยให้อ่านได้อย่างเข้าใจยิ่งขึ้น

จากเรื่องที่ได้อ่านแล้วทำให้เราได้รับรู้ถึงลักษณะของนิสัยภายในตัวบุคคลที่มีอยู่สองด้านคือในส่วนด้านที่ดีและยังมีอีกด้านหนึ่งคือด้านมืด ด้านที่ปกปิดความจริงของตัวบุคคลเอาไว้ถ้าหากเราได้รับการสาภาพหรือการบอกในสิ่งที่ไม่ดีออกเป็นก็จะทำให้ภายในใจของบุคคลนั้นสงบและยังเป็นเหมือนการระบายความผิดของจากตัว รู้สกสบายในใจมากยิ่งขึ้นในก็หมายความว่าจิตวิญญาณของตัวเราเองนั้นได้เป็นสุขแล้ว และนอกจากนนี้ยังได้รับรู้ถึงความเป็นคน ชนชาติ วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อของคนในสมัยยุคนั้นด้วย

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากๆนะคะที่ช่วยสรุปและวิเคราะห์ให้สามารถเข้าใจได้ ขอบคุณมากๆค่ะมีประโยชน์และสำคัญต่อการเรียนมากค่ะ^_____^

    ตอบลบ